top of page
l4-266

l4-266

K8028989-13

K8028989-13

hqdefault (5)

hqdefault (5)

Cr5

Cr5

1225455453

1225455453

hqdefault (2)

hqdefault (2)

Cr14 - Copy

Cr14 - Copy

Cr7

Cr7

39600-attachment - Copy (2)

39600-attachment - Copy (2)

635401733422819584_2

635401733422819584_2

ลักษณะคำประพันธ์  

 อินทรวิเชียรฉันท์ และ โคลงสี่สุภาพ

    พระราชนิพนธ์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ 

    พระนิพนธ์ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  

ตัวอย่างคำประพันธ์

      ขัตติยพันธกรณี (เหตุอันเป็นข้อผูกพันของกษัตริย์) เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ และพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นกวีนิพนธ์ที่ผู้ใดได้อ่านจะประทับใจเป็นอย่างยิ่ง เป็นบทที่มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่เกี่ยวกับความอยู่รอดของประเทศของเรา เหตุการณ์นี้คือเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2436 ไทยขัดแย้งกับฝรั่งเศสเรื่องเขตแดนทางด้านเขมร ฝรั่งเศสส่งเรือปืนแล่นผ่านป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ เข้ามาจอดทอดสมอหน้าสถานทูตฝรั่งเศส ถืออำนาจเชิญธงชาติฝรั่งเศสขึ้นเหนือแผ่นดินไทย ตรงกันวันที่ 14 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันชาติฝรั่งเศสและยื่นคำขาดเรียกร้องดินแดนทั้งหมดทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง ซึ่งขณะนั้นอยู่ใต้อำนาจปกครองของไทยเนื่องจากไทยให้คำตอบล่าช้า ทูตปาวีของฝรั่งเศสจึงให้เรือปืนปิดล้อมอ่าวไทย เป็นการประกาศสงครามกับไทย ซึ่งข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส ได้แก่  

     1. ฝรั่งเศสในฐานะเป็นมหาอำนาจผู้คุ้มครองเวียดนามและกัมพูชา จะต้องได้ดินแดนทั้งหมดทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง

     2. ไทยจะต้องลงโทษนายทหารทุกคนที่ก่อการรุกรานที่ชายแดน

     3. ไทยจะต้องเสียค่าปรับแก่ฝรั่งเศสเป็นจำนวน 3 ล้านฟรังค์เหรียญทอง (เท่ากับ 1,560 ,000 บาท สมัยนั้น)

เหตุการณ์นี้ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสียพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งจนทรงพระประชวรหนัก ไม่ยอมเสวยพระโอสถใด ๆ ในระหว่างนั้นได้ทรงพระราชนิพนธ์บทโคลงและฉันท์ระบายความทุกข์โทมนัสในพระราชหฤทัยจนไม่ทรงปรารถนาที่จะดำรงพระชนม์ชีพอีกต่อไป ได้ทรงส่งบทพระราชนิพนธ์ไปอำลาเจ้านายพี่น้องบางพระองค์รวมทั้งสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ซึ่งเป็นพระเจ้าน้องยาเธอด้วย เมื่อทรงได้รับสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ก็ทรงนิพนธ์บทประพันธ์ถวายตอบทันที ทำให้กำลังพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง กลับเสวยพระโอสถ และเสด็จออกว่าราชการได้ในไม่ช้า  

     ส่วนพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพนั้น เป็นอินทรวิเชียรฉันท์ทั้งหมด มีเนื้อความแสดงความวิตกและความทุกข์ของประชาชนชาวไทยในพระอาการประชวรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ สำหรับตัวพระองค์เองนั้น ถ้าเลือดเนื้อของพระองค์เจือยาถวายให้หายประชวรได้ก็ยินดีจะทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงเปรียบประเทศชาติเป็นรัฐนาวา มีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเป็นผู้บัญชาการเรือ เมื่อมาทรงพระประชวรและไม่ทรงบัญชาการ ผู้กระทำหน้าที่ต่าง ๆ ในเรือก็ปฏิบัติหน้าที่ของตนไม่ถูก เป็นธรรมดาเมื่อเรือแล่นไปในทะเลในมหาสมุทรมีบางครั้งอาจเจอพายุหนักบ้างเบาบ้าง ถ้ากำลังเรือดีก็แล่นรอดไปได้ ถ้าหนักเกินกำลังเรือจะรับก็อาจจะล่ม พวกชาวเรือก็ย่อมจะรู้กัน ดังนั้นตราบที่เรือยังลอยอยู่ยังไม่จม ก็ต้องพยายามแก้ไขกันจนสุดความสามารถ เหมือนรัฐนาวาเจอปัญหาวิกฤติก็ต้องหาทางแก้จนสุดกำลังความสามารถถ้าแก้ไม่ได้ก็ต้องยอมรับสภาพว่าถึงกรรมจะต้องให้เป็นไป แต่ถ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงทอดธุระเสีย ไม่ทรงหาทางแก้ไข ในที่สุดรัฐนาวาก็ย่อมจะไปไม่รอดต่างกันก็แต่ว่าถ้าพระองค์พยายามหาทางแก้ไขจนเต็มกำลังพระปรีชาสามารถแล้วแก้ไขไม่ได้ ก็ไม่มีใครมาว่าได้ว่าพระองค์ขลาดเขลาและไม่เอาพระทัยใส่ในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ถึงจะพลาดพลั้งก็ยังได้รับการยกย่องและความเห็นใจว่าปัญหาหนักใหญ่เกินกำลังจะแก้ไขได้

      สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงเปรียบตัวพระองค์เองเหมือนม้าที่เป็นพระราชพาหนะ เตรียมพร้อมที่จะรับใช้เทียบหน้าพลับพลา คอยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ประทับและทรงบัญชาการให้ม้าไปทางใด ก็ยินดีจะทำตามพระราชบัญชา ไม่ว่าจะลำบากหรือใกล้ไกลเพียงใดก็ทรงยินดีรับใช้จนสิ้นพระชนม์ชีพ ถึงจะวายพระชนม์ก็จะตายตาหลับด้วยได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจที่มีต่อชาติบ้านเมืองสมกับพันธกรณีแล้ว ทรงขอให้อำนาจแห่งคำสัตย์ของพระองค์ดลบันดาลให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงหายจากการประชวรทั้งพระวรกายและพระราชหฤทัย และขอให้สำเร็จพระราชประสงค์ที่ทรงปรารถนา ให้เหตุที่ทำให้ทรงขุ่นขัดพระราชหฤทัยเคลื่อนคลายเหมือนเวลาหลายปีได้ผ่านพ้นไป และขอให้ดำรงพระชนม์ชีพยืนนานเพื่อเกื้อกูลและสร้างความเจริญแก่ประเทศไทยตลอดไป

 

      เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงพระประชวรเนื่องจากความเครียดในการแก้ปัญหาบ้านเมืองยามที่ไทยกำลังจะสูญเสียดินแดนให้กับประเทศฝรั่งเศส
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์บทกลอนตอบไปว่า:

ธรรมดามหาสมุทร มีคราวหยุดพายุผัน
มีคราวสลาตัน ตั้งระลอกกระฉอกฉาน
ผิวพอกำลังเรือ ก็แล่นรอดไม่ร้าวราน
หากกรรมจะับันดาล ก็คงล่มทุกลำไป
ชาวเรือก็ย่อมรู้ ฉะนี้อยู่ทุกจิตใจ
แต่ลอยอยู่ตราบใด ต้องจำแก้ด้วยแรงระดม
แก้รอดตลอดฝั่ง จะรอดทั้งจะชื่นชม
เหลือแก้ก็ำจำจม ให้ปรากฎว่าถึงกรรม
ผิวทอดธุระนิ่ง บ่วุ่นวิ่งเยียวยาทำ
ที่สุดก็สูญลำ เหมือนที่แก้ไม่หวาดไหว
ผิดกันแต่ถ้าแก้ ให้เต็มแย่จึงจมไป
ใครห่อนประมาทใจ ว่าขลาดเขลาและเมาเมิน
เสียทีก็มีชื่อ ได้เลื่องลือสรรเสริญ
สงสารว่ากรรมเกิน กำลังดอกจึงจมสูญ

คุณค่าด้านสังคม

๑. สะท้อนความคิด ความเชื่อของคนไทยในอดีตได้เป็นอย่างดี 
๒. ปลุกจิตสำนึกให้คนในชาติหวงแหนรักษาผืนแผ่นดินไทยไว้ให้ดำรงอยู่สืบไปและตระหนักถึงความเหนื่อยยากของบรรพบุรุษที่ต้องยอมแลกด้วยชีวิตเพื่อรักษาฝืนแผ่นดินนี้ไว้

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

๑. มีการใช้ฉันทลักษณ์ที่หลากหลายเป็นแบบอย่างของการแต่งลิลิต 
๒. ไพเราะด้วยสัมผัสนอก สัมผัสใน สัมผัสสระและอักษร การเล่นคำซ้ำคำ 
๓. มีการใช้ภาพพจน์ต่างๆ ทั้งอุปมา อุปลักษณ์ อัพภาส ฯลฯ 
๔.บทนิราศก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจอันเป็นความงามเชิงวรรณศิลป์ได้ดี 
๕. การปิดเรื่องน่าประทับใจ คือ การตั้งจิตอธิษฐานของกวีผู้แต่เป็นบทที่มีผู้จดจำกันได้มาก

วีดีโอประกอบการศึกษา

bottom of page