top of page
ppt-34-1-638
maxresdefault (4)
e6
0

สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นนิยายคำฉันท์ขนาดสั้นไม่กี่สิบหน้ากระดาษเท่านั้น แต่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี มีความงดงามทางวรรณศิลป์ ทั้งยังได้รับการคัดเลือกเป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอนในวิชาภาษาไทยด้วย
หนังสือ สามัคคีเภทคำฉันท์ (ฉบับกระทรวงศึกษาธิการจัดพิมพ์ เขียนเว้นวรรค เป็น “สามัคคีเภท คำฉันท์”) นี้ นายชิต บุรทัต ได้แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2457 ในสมัยรัชกาลที่ 6 นับเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงอีกชิ้นหนึ่งของกวีผู้นี้

ชนิดของฉันท์ที่ใช้แต่ง
กมลฉันท์, กาพย์ฉบัง, จิตรปทาฉันท์, , โตฏกฉันท์, ภุชงคประยาตฉันท์, มาณวกฉันท์, มาลินีฉันท์, วสันตดิลกฉันท์, วังสัฏฐฉันท์, วิชชุมมาลาฉันท์, สัททุลวิกกีฬิตฉันท์, สัทธราฉันท์, สาลินีฉันท์, สุรางคนางค์ฉันท์, อินทรวิเชียรฉันท์, อินทรวงศ์ฉันท์, อีทิสังฉันท์, อุปชาติฉันท์, อุปัฏฐิตาฉันท์ และอุเปนทรวิเชียรฉันท์
อนึ่ง แม้จะใช้กาพย์ฉบัง แต่ก็ยังจัดในหมวดของฉันท์ได้ ทั้งนี้กาพย์ฉบังที่ใช้ในเรื่อง กำหนดเป็นคำครุทั้งหมด

ประวัติของเรื่อง
ในสมัยรัชกาลที่6 เกิดเหตุการณ์ต่างๆ เช่น สงครามโลกครั้งที่1กบฏ ร.ศ.130 ทำให้เกิดความตื่นตัวทางความคิด มีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการบ้านเมืองแตกต่างกันเป็นหลายฝ่าย จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อความไม่มั่นคงของบ้านเมือง ในภาวะดังกล่าวจึงมีการแต่งวรรณคดีปลุกใจให้มีการรักษาขึ้นโดยเรื่องสามัคคีเภทแต่งขึ้นในปี พ.ศ 2457 โดยมุ่งเน้นความสำคัญของความสามัคคีเพื่อรักษาบ้านเมืองสามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นกวีนิทานสุภาษิต ว่าด้วย “โทษแห่งการแตกสามัคคี” ภายหลังได้รับการยกย่องเป็นตำราเรียนวรรณกรรมไทยที่สำคัญเล่มหนึ่งทั้งในอดีตและปัจจุบัน

คำประพันธ์
คำประพันธ์ที่ใช้แต่งสามัคคีเภทคำฉันท์นั้นใช้ฉันท์และกาพย์สลับกัน จึงเรียกว่า คำฉันท์ โดยมีฉันท์ถึง 20 ชนิดด้วยกัน นับว่าเป็นวรรณคดีคำฉันท์เล่มหนึ่งที่อนุชนรุ่นหลังยกย่องและนับถือเป็นแบบเรื่อยมา โดยเน้นจังหวะลหุ คือเสียงเบาอย่างเคร่งครัด กำหนดเป็นสระเสียงสั้นไม่มีตัวสะกด เสมอ

วัตถุประสงค์
เพื่อมุ่งชี้ความสำคัญของการรวมเป็นหมู่คณะ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อป้องกันรักษาบ้านเมืองให้มีความเป็นปึกแผ่น สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นกวีนิทานสุภาษิต ว่าด้วย “โทษแห่งการแตกสามัคคี” ภายหลังได้รับการยกย่องเป็นตำราเรียนวรรณกรรมไทยที่สำคัญเล่มหนึ่งทั้งในอดีตและปัจจุบัน


เนื้อเรื่องย่อ

ข้อคิดสำคัญที่ได้จากเรื่อง คือ โทษของการแตกความสามัคคี ส่วนแนวคิดอื่น ๆ มีดังนี้
๑.การใช้ปัญญาเอาชนะศัตรูโดยไม่เสียเลือดเนื้อ
๒.การเลือกใช้บุคคลให้เหมาะสมกับงานจะทำให้งานสำเร็จได้ด้วยดี
๓.การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองก่อนทำการใด ๆ เป็นสิ่งที่ดี
๔.การถือความคิดของตนเป็นใหญ่และทะนงตนว่าดีกว่าผู้อื่น ย่อมทำให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวม
๕.ศิลปะการประพันธ์ในสามัคคีเภทคำฉันท์ นายชิต บุรทัต สามารถสร้างตัวละคร เช่น วัสสการพราหมณ์ ให้มีบุคลิกเด่นชัด และสามารถดำเนินเรื่องให้ชวนติดตาม นอกจากนี้ ยังมีความเชี่ยวชาญในการแต่งคำประพันธ์ ดังนี้
๕.๑ เลือกสรรฉันท์ชนิดต่าง ๆ มาใช้สลับกันอย่างเหมาะสมกับเนื้อเรื่องแต่ละตอน เช่น ใช้วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ ซึ่งมีลีลาไพเราะ ชมความงามของเมืองราชคฤห์ ใช้อีทิสังฉันท์ ๒๐ ซึ่งมีลีลากระแทกกระทั้นแสดงอารมณ์โกรธ
๕.๒ ดัดแปลงฉันท์บางชนิดให้ไพเราะยิ่งขึ้น เช่น เพิ่มสัมผัสบังคับคำสุดท้ายของวรรคแรกกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ ในฉันท์ ๑๑ ฉันท์ ๑๒ และฉันท์ ๑๔ เป็นที่นิยมแต่งตามมาถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ นายชิต บุรทัต ยังเพิ่มลักษณะบังคับ ครุ ลหุ สลับกันลงในกาพย์สุรางคนาง ๒๘ ให้มีจังหวะคล้ายฉันท์ด้วย
๕.๓ เล่นสัมผัสในทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษรอย่างไพเราะ เช่น คะเนกล – คะนึงการ ระวังเหือด – ระแวงหาย
๕.๔ ใช้คำง่าย ๆ ในการเล่าเรื่อง ทำให้ดำเนินเรื่องได้รวดเร็ว และผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ทันที
๕.๕ ใช้คำง่าย ๆ ในการบรรยายและพรรณนาดัวละครได้อย่างกระชับ และสร้างภาพให้เห็นได้อย่างชัดเจน
อปริหานิยธรรม ๗ ประการ
๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
๒. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติเอาไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ ถือปฏิบัติตามวัชชีธรรมตามที่วางไว้เดิม
๔. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี ก็ควรเคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง
๕. บรรดากุลสตรีและกุลกุมารีทั้งหลายให้อยู่ดี โดยมิถูกข่มเหงหรือฉุดคร่าขืนใจ
๖. เคารพสักการบูชาเจดีย์ของวัชชีทั้งหลายทั้งภายในและภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป
๗. จัดให้ความอารักขา คุ้มครอง และป้องกันอันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ทั้งหลายทั้งที่ยังมิได้มาพึงมาสู่แว่นแคว้นและที่


        สามัคคีเภทคำฉันท์ มีว่าสมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพานไม่นานนัก พระเจ้าอชาตศัตรูทรงครองราชสมบัติที่นครราชคฤห์ แคว้นมคธ พระองค์ทรงมีวัสสการพราหมณ์ ผู้ฉลาดและรอบรู้ศิลปศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาราชกิจทั่วไป ขณะนั้นทรงปรารภจะแผ่พระราชอาณาเขตเข้าไปถึงแคว้นวัชชี แต่กริ่งเกรงว่ามิอาจเอาชนะได้ด้วยการส่งกองทัพเข้ารุกราน เนื่องจากบรรดากษัตริย์ลิจฉวีมีความสามัคคีสูง และการปกครองอาณาประชาราษฎ์รด้วยธรรม อันนำความเจริญเข้มแข็งมาสู่แว่นแคว้น พระเจ้าอชาตศัตรูทรงหารือเรื่องนี้เป็นการเฉพาะกับวัสสการพราหมณ์ จึงเห็นแจ้งในอุบายจะเอาชนะด้วยปัญญาวันหนึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จออกว่าราชการพร้อมพรั่งด้วยเสนาอำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่ เมื่อเสร็จวาระเรื่องอื่นๆลงแล้ว จึงตรัสในเชิงหารือว่า หากพระองค์จะยกทัพไปปราบแคว้นวัชชีใครจะเห็นคัดค้านประการใดวัสสการพราหมณ์ฉวยโอกาสเหมาะกับอุบายตนที่วางไว้ ก็กราบทูลท้วงว่าเห็นทีจะเอาชนะไม่ได้เลย เพราะกษัตริย์ลิจฉวีทุกองค์ล้วนผูกพันเป็นกัลยาณมิตรอย่างมั่นคง มีความสามารถในการศึกและกล้าหาญ อีกทั้งโลกจะติเตียน หากฝ่ายมคธจงใจประทุษร้ายรุกรานเมืองอื่น ขอให้ยับยั้งการทำศึกเอาไว้เพื่อความสงบของประชาราษฎร์พระเจ้าอชาตศัตรูทรงแสร้งแสดงพระอาการพิโรธหนัก ถึงขั้นรับสั่งจะให้ประหารชีวิตเสีย แต่ทรงเห็นว่าวัสสการพราหมณ์รับราชการมานาน จึงลดโทษการดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพครั้งนั้น เพียงแค่ลงพระราชอาญาเฆี่ยนตีอย่างแสนสาหัสจนสลบไสล ถูกโกนหัวประจานและ เนรเทศออกไปจากแคว้นมคธ ข่าววัสสการพราหมณ์เดินทางไปถึงนครเวสาลี เมืองหลวงของแคว้นวัชชี ทราบไปถึงพระกรรณของหมู่กษัตริย์ลิจฉวี จึงรับสั่งให้เจ้าพนักงานตีกลองสำคัญเรียกประชุมราชสภาว่า ควรจะขับไล่หรือเลี้ยงเอาไว้ดี ในที่สุดที่ประชุมราชสภาลงมติให้นำเข้าเฝ้าเพื่อหยั่งท่าทีและฟังคารมก่อน
แต่หลังจากกษัตริย์ลิจฉวีทรงซักไซ้ไล่เลียงด้วยประการต่างๆ ก็หลงกลวัสสการพราหมณ์ ทรงรับไว้ทำราชการในตำแหน่งอำมาตย์ผู้พิจารณาพิพากษาคดีและตั้งเป็นครูฝึกสอนศิลปวิทยาแก่ ราชกุมารของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีด้วย จากนั้นต่อมา พราหมณ์เฒ่าก็ทำที่ปฎิบัติงานในหน้าที่อย่างดี ไม่มีสิ่งใดบกพร่อง จนหมู่กษัตริย์ลิจฉวีไว้วางพระทัย
แผนการทำลายความสามัคคีได้เริ่มจากวัสสการพราหมณ์ใช้กลอุบายให้บรรดาราชโอรสกษัตริย์ลิจฉวีระแวงกัน โดยแกล้งเชิญแต่ละองค์ไปพบเป็นการส่วนตัว แล้วถามปัญหาธรรมดาที่รู้ๆ กันอยู่ เมื่อองค์อื่นซักเรื่องราวว่าสนทนาอะไรกับอาจารย์บ้าง แม้ราชกุมารองค์นั้นจะตอบความจริง แต่ก็ไม่มีใครเชื่อถือ ก่อให้เกิดความระแวงและแตกร้าวในบรรดาราชกุมาร กระทั่งลุกลามไปสู่กษัตริย์ลิจฉวี ผู้เป้นพระราชบิดาทุกองค์ ทำให้ความสามัคคีค่อยๆ เสื่อมลงจนกระทั่งไม่เข้าร่วมประชุมราชสภา หรือได้ยินเสียงกลองก็ไม่สนใจประชุม เมื่อมาถึงขั้นนี้
วัสสการพราหรณ์จึงลอบส่งข่าวไปให้พระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพมาตีแคว้นวัชชีได้เป็นผลสำเร็จ

 

คุณค่างานประพันธ์
๑.ด้านวรรณศิลป์
– ใช้ฉันทลักษณ์ได้อย่างงดงามเหมาะสม โดยเลือกฉันท์ชนิดต่าง ๆ มาใช้สลับกันตามความเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง จึงเกิดความไพเราะสละสลวย
– ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เห็นภาพชัดเจน
๒. ด้านสังคม
– เน้นโทษของการแตกความสามัคคีในหมู่คณะ
– ด้านจริยธรรม เน้นถึงหลักธรรม อปริหานิยธรรม ซึ่งเป็นธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม
– เน้นถึงความสำคัญของการใช้สติปัญญาตริตรอง และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยไม่ต้องใช้กำลัง

 ตัวอย่าง “บ่างช่างยุ”“ไส้ศึก” และการทำลายความสามัคคี

การร่ำพรรณนาถึงความงดงามของ กรุงราชคฤห์อันเป็นนครหลวงของพระเจ้าอาชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ เอาไว้ว่าดังนี้

 

“ช่อฟ้าตระการกละจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร

บราลีพิลาศุภจรูญ นพศูลประภัศร

หางหงส์ผจงพิจิตระงอน ดุจะกวักนภาลัย”...

 

อันนับได้ว่างามนัก วัสสการพราหมณ์ ในคำฉันท์เรื่องนี้เป็นครูอาจารย์ผู้สอนศิลปะวิทยาอยู่ในแคว้นมคธ แต่ที่ลึกซึ้งยิ่งกว่านั้นก็คือ เป็นนักการเมืองเจ้าเล่ห์ เป็น “บ่างช่างยุ” หรือว่า นักยุแยงตะแคงรั่วมือระดับปรมาจารย์

วัสสการพราหมณ์เข้าไปเป็น “ไส้ศึก” อยู่ในแว่นแคว้นวัชชีซึ่งปกครองโดยเหล่าบรรดากษัตริย์ ลิจฉวี และใช้ระยะเวลายุแหย่อยู่ไม่นานนัก เหล่าบรรดาผู้นำดังที่ว่านั้น ก็ถึงกาลแตกแยก

ก่อนหน้านี้วัสสการพราหมณ์ได้ยอมเจ็บตัวเล่นละครตบตา ยอมให้เจ้านายตนเฆี่ยนตี และโกน หัวขับไล่ให้ออกจากเมืองไป ดังที่ผู้ประพันธ์ได้บรรยายเอาไว้ว่า

 

“ยลเนื้อก็เนื้อเต้น พิศะเส้นก็สั่นรัว

ทั้งร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวไป

แลหลังก็หลั่งโล หิตโอ้เลอะลามไหล

พ่งผาดอนาถใจ ตละล้วนระรอยหวาย”...

 

และนี่ก็คือฝีมือในการแต่งฉันท์ที่เป็นหนึ่งของชิต บุรทัต สามัคคีเภทคำฉันท์

ไม่เพียงแต่งดงามด้วยภาษากวีเท่านั้น แต่เนื้อหาสาระนับว่า ยังเหมาะเป็นยิ่งด้วยสำหรับสังคมไทยยามนี้

เหตุก็เพราะความไม่สมานฉันท์ ไม่สามัคคีกัน โดยแท้ ที่นำมาซึ่งความวิบัติล่มจมของบ้านเมือง

ฟังว่า เหล่าบรรดากษัตริย์ลิจฉวีอันเป็นผู้ปกครองแคว้นวัชชีทั้งปวงนั้น ได้เคยมีการปกครองใน ระบบรัฐสภาที่เข้มแข็งเป็นอย่างยิ่ง

ก่อนที่วัสสการพราหมณ์จะเข้ามาทำให้สภาเกิดแตกแยก และเกิด หวั่นระแวงแคลงใจกันขึ้น ดังที่ผู้ประพันธ์ว่า

 

“สามัคคีธัมมะทำลาย มิตระภิทนะกระจาย

สรรพะเสื่อมหายน์ ก็เปนไป”...

สมดังชื่อเรื่องว่า สามัคคีเภท

 

สรุปแล้ว ทั้งสภาและบ้านเมืองประชาชนของแคว้นวัชชีก็ไม่มีอะไรเหลือ ด้วยฝีมือการยุแหย่ ของวัสสการพราหมณ์แต่ผู้เดียวโดยแท้

วีดีโอประกอบการศึกษา

bottom of page